วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

        

          วันรัฐธรรมนูญ

          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศ
         วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมการราษฎร ศาล
        ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพร มหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด  18   ฉบับ

          รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระ ราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้


     1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)
      2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
       3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
       4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
       5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
       6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
       7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)
       8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
       9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
      10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
      11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
      12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
      13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
      14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
      15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
      16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
      17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
     18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)


 




http://hilight.kapook.com/view/18208










วันพ่อแห่งชาติ

       วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือ เป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย
       5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อแห่งชาติ อีกทั้งทรงเป็นพ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทย ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุง สุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ

    -  เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    -  เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
    -   เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
    -   เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน  








วันพ่อแห่งชาติมีดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ประจำ




ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ

         วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และ กำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติพุทธรักษา ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรง ปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว

     คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย




ถอดคำประพันธ์ ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

ถอดคำประพันธ์ ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา 

นางวันทองตื่นอยู่รู้สึกตัว                        หมายใจว่าผัวก็ทำเฉย
นิ่งดูอารมณ์ที่ชมเชย                             จะรักจริงฤๅจะเปรยเป็นจำใจ
แต่นิ่งดูกิริยาเป็นช้านาน                          หาว่าขานตอบโต้อย่างไรไม่
ทั้งรักทั้งแค้นแน่นฤทัย                           ความอาลัยปั่นป่วนยวนวิญญา

ถอดความได้ว่า
            ชุนแผนมาถึงเรือนพลายงาม  เข้าไปในห้องนางวันทองแล้วพบนางหลับไป  จึงนั่งข้างๆแล้วปลุกให้นางตื่น ว่าตนมาแล้ว


โอ้เจ้าแก้วแววตาของพี่เอ๋ย                      เจ้าหลับใหลกระไรเลยเป็นหนักหนา
ดังนิ่มน้องหมองใจไม่นำพา                                  ฤๅขัดเคืองคิดว่าพี่ทอดทิ้ง
ความรักหนักหน่วงทรวงสวาท                              พี่ไม่คลาดคลายรักแต่สักสิ่ง
เผอิญเป็นวิปริตที่ผิดจริง                                         จะนอนนิ่งถือโทษโกรธอยู่ไย
ว่าพลางเอนแอบลงแนบข้าง                                  จูบพลางชวนชิดพิสมัย
ลูบไล้พิไรปลอบให้ชอบใจ                                    เป็นไรจึงไม่ฟื้นตื่นนิทรา

ถอดความได้ว่า
            ขุนแผนง้อนางวันทองด้วยคำพูดหวานๆและขอโทษนางวันทอง ว่าอย่าโกรธขุนแผนเลย จะนอนนิ่งไม่คุยกับขุนแผนเลยหรอ ขุนแผนพูดไปแล้วก็ก้มลงนอนแนบข้างๆนางวันทองพร้อมพรมจูบ ลูบแขน   และถามนางวันทองว่าทำไมไม่ตื่นขึ้นมาคุยกับขุนแผน

  
             นี้ก็เป็นผลงานอีกชิ้นที่มีความน่าสนใจมากเป็นวรรณคดีพื้นบ้านที่มีความสนุกในทุกตอน  และเป็นวรรณคดที่หน้าติดตามมากและต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://for-m6.blogspot.com/2013/04/3-5-7-9-8-67.html เป็นอย่างสูง

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความสำคัญของวรรณคดี

ความสำคัญของวรรณคดี
             ๑. ความสำคัญของวรรณคดีไทยปัจจุบัน
         
วรรณคดี วรรณกรรมไทยปัจจุบันและวรรณกรรมท้องถิ่นมีความสำคัญต่อท้องถิ่น
และประเทศชาติ ดังต่อไปนี้
        
 ๑.๑ ทางด้านการใช้ภาษา ผู้เขียนหรือผู้เล่าได้แสดงความสามารถทางด้านการใช้
ภาษาในการถ่ายทอดความไพเราะ ความหมายที่ดี ความลึกซึ้งและสืบทอดความรู้สึกนึกคิด ให้ผู้อื่นได้รับรู้แนวคิดของตน 
       
 ๑.๒ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคน ผู้อ่านหรือผู้ฟังวรรณคดี วรรณกรรมไทยปัจจุบัน และวรรณกรรมท้องถิ่น จะได้รับความรู้เกี่ยวกับความคิด ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของ ท้องถิ่น สังคมและประเทศชาตินั้น ๆ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนและโบราณคดี เช่น วรรณกรรมประเภทนิทาน ตำนาน ประวัติศาสตร์และศิลาจารึก เป็นต้น
       
 ๑.๓ สืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรม การสร้างวรรณกรรมวัฒนธรรมหลายประเภท ทำให้การสืบทอดวัฒนธรรมด้านวัตถุต่าง ๆ เช่น งานช่าง งานฝีมือ การประดิษฐ์อักษร การมีภาษาเป็นของตนเอง 
       
 ๑.๔ เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้ กฎ ระเบียบ คำสอน ศีลธรรม โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นให้ผู้รับฟัง ผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจโดยไม่รู้ตัว เช่น ว คำสอน ตำนาน เป็นต้น
       
 ๑.๕ เป็นเครื่องมือสร้างกำลังใจและสร้างศรัทธา ทำให้เกิดความเชื่อมั่น มีกำลังใจ
         ๑.๖ เป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคี วรรณกรรมท้องถิ่นสามารถสร้างความสามัคคี ของคนในหมู่คณะเดียวกันและประเทศชาติได้ เช่น วรรณกรรมคำสอนต่าง ๆ ยกตัวอย่าง คำสอนเกี่ยวกับการเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ การผูกมิตรของกวีเอกสุนทรภู่ เรื่องนิราศภูเขาทอง กล่าวไว้ว่า

                         “
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
                         
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
                         
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
                         
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา


                                  http://adireksangkongtong.webiz.co.th

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รายงานตัวค่ะ

สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาวสุรินทิพย์   แง่มจันทร์  เรียนชั้นม.6/2   ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะค่ะ