ความสำคัญของวรรณคดี
๑. ความสำคัญของวรรณคดีไทยปัจจุบัน
วรรณคดี วรรณกรรมไทยปัจจุบันและวรรณกรรมท้องถิ่นมีความสำคัญต่อท้องถิ่น
และประเทศชาติ ดังต่อไปนี้
๑.๑ ทางด้านการใช้ภาษา ผู้เขียนหรือผู้เล่าได้แสดงความสามารถทางด้านการใช้
ภาษาในการถ่ายทอดความไพเราะ ความหมายที่ดี ความลึกซึ้งและสืบทอดความรู้สึกนึกคิด ให้ผู้อื่นได้รับรู้แนวคิดของตน
๑.๒ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคน ผู้อ่านหรือผู้ฟังวรรณคดี วรรณกรรมไทยปัจจุบัน และวรรณกรรมท้องถิ่น จะได้รับความรู้เกี่ยวกับความคิด ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของ ท้องถิ่น สังคมและประเทศชาตินั้น ๆ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนและโบราณคดี เช่น วรรณกรรมประเภทนิทาน ตำนาน ประวัติศาสตร์และศิลาจารึก เป็นต้น
๑.๓ สืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรม การสร้างวรรณกรรมวัฒนธรรมหลายประเภท ทำให้การสืบทอดวัฒนธรรมด้านวัตถุต่าง ๆ เช่น งานช่าง งานฝีมือ การประดิษฐ์อักษร การมีภาษาเป็นของตนเอง
๑.๔ เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้ กฎ ระเบียบ คำสอน ศีลธรรม โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นให้ผู้รับฟัง ผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจโดยไม่รู้ตัว เช่น ว คำสอน ตำนาน เป็นต้น
๑.๕ เป็นเครื่องมือสร้างกำลังใจและสร้างศรัทธา ทำให้เกิดความเชื่อมั่น มีกำลังใจ
๑.๖ เป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคี วรรณกรรมท้องถิ่นสามารถสร้างความสามัคคี ของคนในหมู่คณะเดียวกันและประเทศชาติได้ เช่น วรรณกรรมคำสอนต่าง ๆ ยกตัวอย่าง คำสอนเกี่ยวกับการเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ การผูกมิตรของกวีเอกสุนทรภู่ เรื่องนิราศภูเขาทอง กล่าวไว้ว่า
“ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”
วรรณคดี วรรณกรรมไทยปัจจุบันและวรรณกรรมท้องถิ่นมีความสำคัญต่อท้องถิ่น
และประเทศชาติ ดังต่อไปนี้
๑.๑ ทางด้านการใช้ภาษา ผู้เขียนหรือผู้เล่าได้แสดงความสามารถทางด้านการใช้
ภาษาในการถ่ายทอดความไพเราะ ความหมายที่ดี ความลึกซึ้งและสืบทอดความรู้สึกนึกคิด ให้ผู้อื่นได้รับรู้แนวคิดของตน
๑.๒ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคน ผู้อ่านหรือผู้ฟังวรรณคดี วรรณกรรมไทยปัจจุบัน และวรรณกรรมท้องถิ่น จะได้รับความรู้เกี่ยวกับความคิด ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของ ท้องถิ่น สังคมและประเทศชาตินั้น ๆ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนและโบราณคดี เช่น วรรณกรรมประเภทนิทาน ตำนาน ประวัติศาสตร์และศิลาจารึก เป็นต้น
๑.๓ สืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรม การสร้างวรรณกรรมวัฒนธรรมหลายประเภท ทำให้การสืบทอดวัฒนธรรมด้านวัตถุต่าง ๆ เช่น งานช่าง งานฝีมือ การประดิษฐ์อักษร การมีภาษาเป็นของตนเอง
๑.๔ เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้ กฎ ระเบียบ คำสอน ศีลธรรม โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นให้ผู้รับฟัง ผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจโดยไม่รู้ตัว เช่น ว คำสอน ตำนาน เป็นต้น
๑.๕ เป็นเครื่องมือสร้างกำลังใจและสร้างศรัทธา ทำให้เกิดความเชื่อมั่น มีกำลังใจ
๑.๖ เป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคี วรรณกรรมท้องถิ่นสามารถสร้างความสามัคคี ของคนในหมู่คณะเดียวกันและประเทศชาติได้ เช่น วรรณกรรมคำสอนต่าง ๆ ยกตัวอย่าง คำสอนเกี่ยวกับการเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ การผูกมิตรของกวีเอกสุนทรภู่ เรื่องนิราศภูเขาทอง กล่าวไว้ว่า
“ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”
http://adireksangkongtong.webiz.co.th